สุดยอดวัฒนธรรมองค์กร เริ่มต้นที่ตัวคุณ
ผมชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับ Culture ของการทำงานในบริษัทใหญ่ทั่วโลก
เพราะรู้สึกว่าเป็นการดีที่เราจะได้รู้วิธีการอยู่ร่วมกันในองค์กรที่แตกต่างกันไป
ล่าสุดเปิดอ่าน PDF ที่ว่าด้วยเรื่อง culture ของ Netflix ชื่อ responsibility and freedom
ยังติดใจอยู่ไม่หาย หลายเรื่องนำมาปรับใช้ในองค์กรของคุณได้ และน่าสนใจมาก
หากถาม CTO (Chief Talent Officer) ของ Netflix ว่าสุดยอดที่ทำงานเป็นอย่างไร เธอบอกว่า
Imagine if every person at Netfilx is someone you respect and learn from…
ลองจินตนาการตามดูละกันครับ
ถ้าทุกคนในที่ทำงานของคุณคือคนที่คุณยอมรับ เคารพ และเรียนรู้จากเขาได้
มันจะเป็นที่ทำงานที่ดีขนาดไหน และเธอยังสรุปอีกว่า
Great Workplace is Stunning Colleagues
สุดยอดที่ทำงานคือเพื่อนร่วมงานที่สุดยอดนั่นเอง
Great workplace is not day‐care, espresso, health benefits, sushi lunches, nice offices,
or big compensation, and we only do those that are efficient at attracting stunning colleagues
Netflix บอกเลยว่าจะทำทุกอย่างเพื่อให้คนเก่งมารวมกันที่นี่
และที่สำคัญที่สุด พวกเขาก็ยอมรับว่าไม่มีการสัมภาษณ์ใดที่จะไร้ข้อผิดพลาด
Like every company,we try to hire well
But, unlike many companies,
we practice “adequate performance gets a generous severance package.”
เพราะฉะนั้นหากคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพแค่ "เหมาะสม" หรือ "เพียงพอ"
เชิญรับ package และลาออกได้เลยครับ
นอกจากนั้นพวกเขายังประกาศชัดเจนว่า
We’re a team, not a family ,
We’re like a pro sports team, not a kid’s recreational team
Coaches’ job at every level of Netflix to hire, develop and cut smartly,
so we have stars in every position
องค์กรเขาไม่ใช่ครอบครัว ไม่จำเป็นต้องดูแลคนนิสัยดี ที่ทำงานได้ไม่ดี
หรือคนนิสัยไม่ดีที่ทำงานได้ดี พวกเขาเหมือนทีมกีฬา
ที่ทุกคนต้องเก่งพอและขับเคลื่อนทีมได้
และที่น่าสนใจคือ Netflix ปรับฐานเงินเดือนเทียบกับตลาดทุกปี
คุณจะเป็นคนที่ได้เงินเดือนเยอะที่สุดในตลาดในตำแหน่งของคุณ
เหมือนถูกจ้างใหม่ทุกปี
และเงินทั้งหมดจะลงที่เงินเดือน ไม่มีโบนัส
โดยไม่สำคัญว่าผลการดำเนินงานของ Netfilx จะเป็นอย่างไร
แต่คุณจะเป็นคนที่ได้เงินเดือนดีที่สุดในตลาด
นั่นล่ะครับ Netflix
และช่วงนี้ ในเรื่องของ culture เช่นกัน
ผมกำลังอ่านหนังสือเรื่อง Hit refresh และอ่านไปได้สัก 70% แล้ว
เรื่องนี้อ่านได้เพลินๆ และเหมือนนั่งคุยกับ สัตยา นาเดลลา
CEO คนล่าสุดของ Microsoft
สิ่งที่น่าสนใจคือ สัตยา ใช้หลักคิด 3C
เพื่อประเมินคุณภาพของ Microsoft ในสายตาของเขา
C แรกเขาพูดเรื่อง Concept
คือองค์กรของเราสามารถคิดบริการหรือผลิตภัณฑ์
ที่จะสามารถเปลี่ยนโลกได้หรือเปล่า
หลังจากคิดแล้ว C ที่สองคือ
Capability คือคนของเรามีความสามารถทางเทคนิคและการบริหารงาน
ที่ดีพอที่จะทำให้แนวคิดนั้นออกไปเปลี่ยนโลกได้จริงหรือเปล่า
และ C สุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ Culture
นั่นคือองค์กรของเรามีวัฒนธรรมที่เปิดกว้าง
ยอมรับ การลองผิดลองถูก ยอมรับที่จะให้นวัตกรรมเบ่งบานในองค์กรหรือเปล่า
ซึ่งในมุมมองผม ถ้า C สุดท้ายนี้ไม่มี
ก็จะส่งผลให้ C แรกไม่เกิดขึ้น เพราะไม่มีใครอยากคิด มันเสียเวลา
และเช่นกัน C ที่สองก็จะไม่มี เพราะคนก็จะย้ายไปอยู่ในที่ที่ Culture ดีกว่า
เช่นอาจจะไป Netflix ไงล่ะครับ
สัตยา บอกว่าตัวเขาและหลายคนใน Microsoft ที่ทำงานมานานนั้น
จำความรู้สึกตอนเข้า Microsoft ครั้งแรกแทบไม่ได้แล้ว
ภาพของ Microsoft ซึ่งเป็นบริษัทนวัตกรรม
คิดค้นผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนโลกนั้น
หายไปจากความทรงจำของคนที่บริษัทแล้ว
เหลือเพียงแค่องค์กรใหญ่ ขายของเก่า กินบุญเก่า
มีระบบการบริหารที่ล่าช้า และพร้อมจะทำให้ทุกไอเดียหายไปตั้งแต่ในห้องประชุม
และหน้าที่ของเขาคือกอบกู้มันขึ้นมา
ที่น่าสนใจคือเขาไม่ได้พึ่งคิดแบบนี้ตอนเป็น CEO
แต่คิดตั้งแต่ตอนเป็นพนักงาน และเห็นคนภายนอกโจมตีองค์กรของเขา
เขาจึงลุกขึ้นมาเป็น Role model ให้ใครหลายคน
เปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนที่เป็น Stunning Colleagues ของใครต่อใคร
จนกระทั่งก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่ง CEO ได้อย่างทุกวันนี้
แล้วองค์กรคุณล่ะครับ เป็นยังไงกันบ้าง
ยังจะเปลี่ยนโลก ยังจะทำให้ชีวิตของคนนับล้านดีขึ้น
หรือจะขายแต่ของเก่า และปล่อยให้พนักงานทำงานกินเงินเดือนไปวันๆ
แล้วตัวคุณล่ะครับ คิดว่าองค์กรที่ดีคือองค์กรที่มีสุดยอดเพื่อนร่วมงาน
หรือองค์กรที่มีอาหาร มีชา มีกาแฟ กินฟรี
ถ้าหากอยากให้องค์กรของคุณ มีเพื่อนร่วมงานที่คุณยอมรับ และเรียนรู้จากเขาได้
ถ้ามองว่าองค์กรที่ดีคือองค์กรที่มีสุดยอดเพื่อนร่วมงาน
ผมมีวิธีง่ายๆมาแนะนำครับ
ผมแนะนำให้ทำตัวเองเป็น Role model
เป็นเพื่อนร่วมงานแบบนั้นให้เพื่อนคุณก่อน
และไม่แนะนำให้บ่น ว่าองค์กรไม่ดีอย่างนั้น
เพื่อนร่วมงานไม่ดีอย่างนี้ แล้วพยายามจะเปลี่ยนเขา
Innovators หรือนวัตกรมีเพียง 2.5% ในองค์กร
และคนเหล่านี้ปกติก็จะมุ่งมั่นทำในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าดี
โดยไม่มัวมาเสียเวลาโน้มน้าวหาแนวร่วม
และถ้าสิ่งนั้นดีจริง 13.5% ที่เป็น Early Adopters จะตามมาครับ
คนพวกนี้ปรับตัวเร็ว และเขาจะมาช่วยคุณเอง
และเมื่อทุกคนเห็นว่าดี
34% ที่เป็น Early Majority ก็จะตามมา
และคนครึ่งนึงในองค์กรก็จะเปลี่ยนไปครับ
ถ้า คานธี เดินทางโน้มน้าวคนทั่วอินเดียเสียก่อน
ว่าจะเริ่มต้นออกเดินกับเขาไหม เขาคงไม่ได้เดิน
และอินเดียคงจะยังตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอยู่ทุกวันนี้
เช่นเดียวกันถ้าพี่ตูน มัวแต่ชวนทุกคนวิ่ง
เขาก็คงไม่ได้เริ่ม และเราก็คงไม่ได้เห็นความยิ่งใหญ่เหล่านี้
หลักการที่สำคัญและง่ายที่สุดของการทำงานร่วมกันคือ
ถ้าคุณช่วยกันทำงาน
โดยไม่สนใจว่าผลประโยชน์ของงานชิ้นนี้จะตกกับใครคนใดในกลุ่ม
ทีมของคุณจะมีประสิทธิภาพมากกว่าทีมอื่นอย่างน้อย 5 เท่า
และลองคิดสิครับว่า ถ้าในองค์กรของคุณ
สามารถทำ project cross functional ได้
โดยไม่มีใครมัวแต่สนใจว่า KPI ของตัวเองจะเป็นอย่างไร
ไม่มีใครคิดแค่จะทำให้ดีที่สุดใน silo ของตัวเอง
แต่คิดว่าจะทำงานร่วมกันอย่างไร เพื่อส่งมอบสุดยอดประสบการณ์ให้กับลูกค้า
มันจะสุดยอดขนาดไหน
ขอความช่วยเหลือไปทางไหน ก็มีแต่คนเก่ง
ที่พร้อมจะทำให้งานของคุณดีขึ้น
ส่งมอบประสบการณ์สุดพิเศษให้ลูกค้าได้มากขึ้น
มันจะสุดยอดขนาดไหน
ผมไม่รู้เหมือนกันว่าองค์กรของคุณเป็นแบบไหน
เป็นครอบครัว หรือเป็นทีมกีฬา
ไม่รู้เหมือนกันว่าคุณมี C ครบทั้งสามตัวไหม
หรือว่าเป็นที่ที่คุณมีหน้าที่ก้มหน้าก้มตาทำงานตามสั่ง
ไม่ต้องคิดไม่ต้องเสนออะไร
หรือว่าเป็นที่ที่หันไปทางไหนก็เจอแต่เพื่อนร่วมงานห่วยๆ
เต็มไปด้วยคนคิดลบเต็มไปหมด
แต่ผมรู้อย่างเดียวว่า
ถ้าอยากให้องค์กรของคุณมี Culture ที่ดี
ที่จะเกิดนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของคนนับล้านให้ดีขึ้นได้
คุณต้องเริ่มที่ตัวคุณ
ทำตัวเองให้เป็น Role model ในสิ่งที่คุณทำได้
และเป็นสุดยอดเพื่อนร่วมงานของเพื่อนคุณให้ได้ก่อน
หลังจากนั้น รอดูปาฏิหารย์ที่จะเกิดขึ้น
เป็นกำลังใจให้นะครับ